วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559






 สรุปวีดีโอ (เพิ่มเติม)

เรื่อง : การทดลอง ภูเขาไฟระเบิด 

โดย : จาน่าน้อย

******************************************************



ส่วนผสม
  1. น้ำส้มสายชู
  2. น้ำยาล้างจาน
  3. สีผสมอาหารสีแดง
  4. เบกิ้งโซดา
วิธีการทดลอง
  1. ใส่น้ำส้มสายชูลงไปตามด้วยสีผสมอาหาร
  2. ใส่น้ำยาล้างจานลงไปหลังจากนั้นให้ใส่เบกิ้งโซดาลงไป จะทำให้สิ่งที่เราใส่ลงไปไหลออกมาคล้ายกับภูเขาไฟ
สาระทางวิทยาศาสตร์
     ผงฟูหรือเบกกิ้งโซดาเป็นสารที่ละลายน้ำแล้วมีฤทธิ์เป็นเบสน้ำส้มสายชูหรือกรดแอร์ซิตริกเป็นสารประกอบอิทรีย์มีหมู่ไฮโดรคาร์บอนสร้างพันธะกับคาร์บอกซิลจึงกลายเป็นกรดแอรซิกตริกแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออนจึงมีฤทธิ์เป็นกรดเมื่อน้ำส้มสายชูและผงฟูทำปฏิกิริยากันจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นเกลือและน้ำ และอาจมีสารตัวอื่นเข่ามาทำปฏิกิริยาด้วย เนื่องจากไฮโดรเจนคาร์บอนเนตเป็นสารที่ไม่เสถียรจึกเเตกตัวเป็นน้ำและคาร์บอนไดร์ออกไซต์ จึงเห็นได้ว่าเหตุที่ภูเขาไฟระเบิดนั้นเกิดจากเเก๊สคาร์บอนไอออกไซต์นั้นเอง








สรุปบทความ (เพิ่มเติม)

เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย 

*********************************************************************
            วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
             การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
        กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้

    เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ 
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
   
              บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย 
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์

               การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้ 
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ

              การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย


**********************************************************************************




สรุปวิจัย (เพิ่มเติม)

เรื่องผลของการจัดประสบการณ์เสริมทางวิทยาศาตร์ที่มีต่อทักษะการสังเกตที่มีต่อเด็กปฐมวัย

ผู้วิจัย: คุณสุวิทย์ วรรณศรี
               คุณสมบูรณ์ พานิชศิริ

    มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

************************************************

ความมุ่งหมายของวิจัย
  1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน ก่อนเเละหลังการทดลอง
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติ ก่อนเเละหลังการทดลอง
  3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติ

ความสำคัญของการวิจัย
        การศึกษาครั้้งนี้เป็นเเนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตอันเป็นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางของครูในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ

ขอบเขตการวิจัย
  1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2550 โรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์เขต1
  2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2550 โรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์เขต1  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน30คน แล้วจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลองเเละกลุ่มควบคุม กลุ่มละ15คน 
  3. ระยะเวลที่ทใช้ในการทดลอง การทดลองครั้งนี้กระทำระหว่างภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2550 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ20 นาที 
  4. ตัวแปรที่ศึกษา 
             4.1 ตัวแปรอิสระคือการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศษสตร์ ได้แก่
                  4.1.1 การจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน
                  4.1.2 การจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติ
            4.2 ตัวแปรตามคือ ทักษะการสังเกตโดยคุณลักษณะ การกะปรัมาณและการเปลี่ยนแปลง

สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
  1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน มีทักษะการสังเกตสูงขึ้น
  2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติมีทักษะการสังเกตสูงขึ้น
  3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน มีทักษะการสังเกตแตกต่างจากเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์แบบปกติ
วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
  1. ประเมินก่อนการทดลอง (Pretest) ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้แบบประเมินทักษะการสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เเผนการจดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์ดังนี้
  2. ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองทั้งกลุ่มควบคุมเเละกลุ่มทดลองโดยใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้้งละ20 นาที เด็กจะได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมวงกลม คือวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ดังนี้
           2.1 กลุ่มทดลองได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์นอกชั้นเรียน
           2.2 กลุ่มควบคุมได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์แบบปกติ

      3.  เมื่อทำการทดลองภายในเวลา 8 สัปดาห์แล้วจึงทำการแระเมินหลังการทดลอง (Posttest) ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้แบบประเมินทักษะการสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นชุดเดียวกับการประเมินก่อนการทดลองเเล้วนำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูล

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
  1. ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์ ดังนี้
          1.1 แผนการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์นอกชั้นเรียน
          1.2 แผนการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์แบบปกติ
      
      2. แบบประเมินทักษะการสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความเชื่อถือได้ 0.72


สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
          จากการศึกษาทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์ปรากฏว่า
  1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน กับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติ มีทักษะการสังเกตสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 
  2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน  มีทักษะการสังเกตแตกต่างจากเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 




วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14 วันอังคารที่22 พฤศจิกายน (15-0905)
  • ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอนตามวันที่กลุ่มตัวเองได้รับผิดชอบ
                          กิจกรรมเสริมปนะสบการณ์บูรณการผ่านวิทยาศาสตร์

วันจันทร์หน่วยไก่
วันอังคารหน่วยนม
วันพุธหน่วยข้าว
วันพฤหัสหน่วยกล้วย  (กลุ่มของดิฉันเอง)
วันศุกร์ หน่วยน้ำ
 และหน่วยส้มเป็นการสอนโดยมีSTEM

                              เรื่องที่กลุ่มของดิฉันสอนคือ ประโยชน์และโทษของกล้วย 

   แผนการจัดประสบการณ์หน่วยกล้วย  กิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องกล้วยๆของหนูนิด

วัตถุประสงค์


  1. เด็กเเสดงออกถึงความสนุกสนานจาการฟังนิทาน
  2. เด็กสามารถบอกประโยชนของกล้วยได้
  3. เด็กสามารถบอกข้อควรระวังของกล้วยได้
สาระที่ควรเรียนรู้
  • ธรรมชาติรอบตัว
  • สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
ประสบการณ์สำคัญ
  • ด้านอารมณ์จิตใจ
  • ด้านสติปัญญา
กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
  1. เข้าสู่กิจกรรมโดยการเล่านิทาน เรื่องกล้วยๆของหนูนิด
ขั้นสอน
  1. ครูให้เด็กร่วมกันตอบคำถามจากนิทานว่าเด็กรู้จักประโยชน์ของกล้วยหรือไม่ ว่ามีอะไรบ้าง ข้อควรระวังของกล้วยมีอะไรบ้าง
  2. เมื่อเด็กตอบ ครูจะเป็นผู้บันทึกข้อมูลลงในแผ่นชาร์ตที่เเยกระหว่างประโยชน์และข้อควรระวัง
  3. จากนั้นก็ถามสิ่งที่เด๋กรู้แต่นอกเหนือจากนิทานถ้าเด็กรู้และตอบได้ก็บันทึกเพิ่มเติม
ขั้นสรุป
เด็กและครูร่วมกันสรุปทบทวนความรู้ว่ากล้วยมีประโยชน์เเละข้อควรระวังอย่างไร

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
  1. กระดาษชาร์ต
  2. ปากกาเมจิ
  3. นิทาน
การวัดเเละประเมินผล
สังเกตจาก
  1. เด็กเเสดงออกอย่างสนุกสนานการการฟังนิทาน
  2. เด็กสามารถบอกประโยชน์ของกล้วยได้อย่างถูกต้อง
  3. เด็กสามารถบอกข้อควรระวังของกล้วยไก้อย่างถูกต้อง
การบูรณนาการ
  • ภาษา

นิทานเรื่องกล้วยกล้วยของหนูนิด





















คำศัพท์

  • gardener  ชาวสวน
  • Banana    กล้วย
  • privatization การแปรรูป
การนำมาประยุกต์ใช้
  นำกิจกรรมของเพื่อนที่สอนในวันนี้ไปสอนในชั้นเรียนได้จริง เช่นการนำคำคล้องจองหรือนิทานไปเริ่มต้นการเข้าสู่บทเรียนจะทำให้เด็กๆสนใจเรียนมีความรู้สึกอยากเรียน

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
สามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้ตั้งแต่ต้นจนจบ มีความร่วมมือ 

ประเมินเพื่อน 
เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมมาครบถ้วน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ความสนใจในทุกๆกิจกรรมเเละให้ข้อเสนอเเนะที่ดี สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง




วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ที่13  วันอังคารที่15พฤศจิกายน(15-0905)

  • ให้นั่งตามกลุ่ม ของหน่วยตัวเอง 
  • แล้วถามว่าในเเต่ละวันใครทำอะไร มีวิธีการสอนอย่างไร 
หลังจากที่สอบถามทุกกลุ่มเสร็จเเล้วก้ให้เเต่ละกลุ่มเขียนแผนของตัวเอง ว่าจะทำกิจกรรมอะไรในวันที่ตัวเองได้รับผิดชอบ

องค์ประกอบของแผน
  1. วัตถุประสงค์
  2. สาระการเรียนรู้/สาระที่ควรเรียนรู้/ประสบการณ์สำคัญ
  3. กิจกรรมการเรียนรู้
  4. สื่อ/แหล่งเรียนรู้
  5. การวัดเเละประเมินผล
  6. การบูรณาการ

          หน่วยกล้วย  ลักษณะของกล้วย  ใช้สอนในวันอังคาร
ขั้นนำ 
เข้าสู่กิจกรรมโดยใช้ปริศนาคำทาย "อะไรเอ่ย รูปทรงรี สีเขียวเหลือง เป็นผลไม้รสฝาดเเละหวาน"
ขั้นสอน
  1. ครูนำกล้วยสองชนิดใส่ตะกร้าเดียวกันมาโดยมีผ้าปิดกล้วยเอาไว้
  2. ครูหยิบกล้วยออกมาทีละหนึ่งชนิด แล้วถามเด็กๆว่ากล้วยมีลักษณะอย่างไร แล้วนำไปเขียนบันทึกใส่ตารางที่ครูจัดเตรียมไว้
  3. ครูและเด็กวิเคราะห์ร่วมกันว่ากล้วยทั้งสองชนิดเหมือนเเละเเตกต่างกันอย่างไร
ขั้นสรุป
ครูพูดสรุปว่ากล้วยหอมเเละกล้วยน้ำหว้ามีอะไรที่เหมือนกันและมีอะไรที่ต่างกันบ้าง


        เมื่อเเต่ละคนเขียนแผนของตัวเองเสร็จแล้วอาจารย์ก้ให้ตัวแทนกลุ่มออกมาจับฉลากว่าแต่ละกลุ่มจะได้สอนวันไหน แล้วให้นำกิจกรรมไปสอนจริงในอาทิตย์ถัดไป

รูปภาพกิจกรรม







คำศัพท์
  • Banana  กล้วย
  • basket    ตะกร้า
  • contours  รูปทรง
  • Fruit  ผลไม้

การนำมาประยุกต์ใช้
  สามารถนำหน่วยต่างๆของเพื่อนไปใช้สอน แต่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนเทคนิค นำการถนอมอาหารของหน่วยต่างๆไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันเพราะชีวิตประจำวันมีความจำเป็นต่อการถนอมอาหารเพื่อจะเก็บอาหารไว้ให้ได้นานที่สุด

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแผนในวันต่างๆ เทคนิคการเขียนแผนการนำเด็กเข้าสู่บทเรียน ตั้งใจฟังที่อาจารสอน เเต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจฟังเวลาเพื่อนออกมาอธิบายหน่วยในแต่ละวันให้ฟัง หากเพื่อนไม่เข้าใจตรงไหนก็จะยกมือถาม

ประเมินอาจรย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย มีการสอดเเทรกคุณธรรมจริยธรรมให้คำปรึกษาคำแนะนำได้อย่างละเอียดและหากนักศึกษาไม่เข้าใจตรงไหนก็จะอธิบายจนเข้าใจ





วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12 วันอังคารที่1พฤศจิกายน(15-0905)

ให้ตัวแทนของกลุ่ม ออกไปเปิดวีดีโอการสอนทำของเล่นที่บูรณาการทางวิทยาศาสตร์

                                                          
                                              กลุ่มที่1 พลังปริศนา

                                 




                                                 กลุ่มที่2 ขวดบ้าพลัง

                                 



                                             กลุ่มที่3 รถแกนหลอดได้

                                   


                                                        
                                                      กลุ่มที่4ลูกข่างนักสืบ

                                        


  • เมื่อดูวีดีโอของเเต่ละกลุ่มเสร็จแล้ว ก็ให้แยกกลุ่มตามหน่วยการเรียนรู้ที่เลือกไว้ ให้เเต่ละกลุ่มเขียนมายแมป โดยอาจารย์ทำเป็นตัวอย่างให้ดู ว่าในหน่วยของเราในเเต่ละวันจะสอนเด็กอย่างไร จะทำอะไรกับเด็ก








คำศัพท์
  • benefit   ประโยชน์
  • forewarning  ข้อควรระวัง

การนำมาประยุกต์ใช้
นำการเรียนรู้ในหน่วยนี้ไปใช้สอนได้ ก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจจะพาเด็กๆร้องเพลงในหน่วยที่จะเรียนก่อนเพื่อกระตุ้นทำให้เด็กอยากที่จะเรียนมากขึ้น

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
สามารถปฎิบัติตามเป้าหมายได้ เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์เเต่จะมีบางครั้งที่คุยบ้าง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียน มีความสามัคคีในการทำงานกลุ่ม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมการสอนมาก่อนเเล้วทำให้การเรียนเป็นไปตามลำดับขั้นตอน 







วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่11 วันอังคารที่25ตุลาคม(15-0905)

  • ให้ตัวแทนกลุ่มออกไปถือแผ่นชาร์ทของกลุ่มตัวเองที่นำกลับไปแก้ไขจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
กลุ่มที่1 หน่วยส้ม


หน่วยส้ม
สายพันธ์ : ส้มเขียวหวาน  ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มจี้ด ส้มจีน
ลักษณะ : สี สีส้ม สีเขียว สีเหลือง สีเขียวเหลือง          
                 รสชาติ หวาน เปรี้ยว อมเปรี้ยมอมหวาน  ขม
   รูปทรง ทรงกลม                             
   ผิว เรียบ  ขรุขระ เรียบขรุขระ          
              ส่วนประกอบ เปลือก เนื้อส้ม เมล็ด เส้นใย
     การถนอมอาหาร : ส้มแช่อิ่ม สมเเห้ง3รส ส้มเชื่อม ส้มกวน
ประโยชน์ : ประโยชน์ในตนเอง สร้างอาชีพ  มีวิตามิน   
           ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เค้กส้ม ขนมส้ม
ข้อควรระวัง : รับประทานมากทำให้ท้องเสีย                  


กลุ่มที่2  หน่วยไก่


หน่วยไก่
สายพันธ์: ไก่ชน ไก่ฟ้า ไก่บ้าน ไก่เเจ้ ไก่ป่า
ลักษณะ: สี  สีขาว สีดำ สีเขียว สีเเดง           
                                ส่วนประกอบ  ปาก ปีก ตา หู หาง ขา จมูก ขน
การดำรงชีวิต:อากาศ น้ำ                               
                    ที่อยู่อาศัย ป่า ต้นไม้ เล้า สุ่ม
                                          ยารักษาโรค วัคซีนสำหรับไก่ ฉีดยาป้องกัน
                                           อาหาร อาหารสำเร็จรูป รำ หนอน ข้าวเปลืก
    ประโยชน์:ประกอบอาหาร ให้โปรตีน  สร้างรายได้
    โทษ: ภาหะนำโรค โรคเก๊า ไก่จิก                         
   

กลุ่มที่3 หน่วยข้าว


หน่วยข้าว
ประเภท: ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว
   ลักษณะ:รูปร่าง เรียงยาว รีกลม
             สี สีดำ สีแดง สีขาว
            พื้นผิว เรียบ ขรุขระ
               การดูแลรักษา :เก็บให้ห่างจากความชื้น
             ประโยชน์:  ทำอาหาร มีคาร์โบไฮเดรต
                   ข้อควรระวัง : เคี้ยวให้ละเอียด ระวังท้องอืด

กลุ่มที่4 หน่วยกล้วย


หน่วยกล้วย
ชนิด: กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหักมุข กล้วยเล็บมือนาง
ลักษณะ: สี เขียวอ่อน เขียวเข้ม เหลืองอ่อน เหลืองเข้ม                     
 รูปทรง ทรงรียาว ทรงรีกลม                                   
 ขนาด เล็ก กลาง ใหญ่                                           
             ส่วนประกอบ เปลือกกล้วย เนื้อกล้วย เม็ดกล้วย ใยกล้วย  
            การแปรรูป:กล้วยอบ กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน ลูกอมกล้วย                   
         ประโยชน์ :   ประโยชน์ต่อตนเอง วิตามินและเเร่ธาตุ แก้โรคกระเพราะ            
        ประโยชน์เชิงพาณิชย์  สร้างราายได้จากการแปรรูป  
       ข้อควรระวัง:ไม่ควรรับประทานตอนท้องว่าง                                                  


กลุ่มที่5 หน่วยน้ำ


หน่วยน้ำ
ประเภท :  นำเค็ม น้ำจืด 
ลักษณะ: กลิ่น                
  ประโยชน์: อุปโภค บริโภค
         โทษ: น้ำท่วม น้ำเน่าเสีย สึนามิ
                                   การดูแลรักษา: ควบคุมการเพิ่มปริมมาณของน้ำ


กลุ่มที่6 หน่วยนม


หน่วยนม
ประเภท: พืช ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวโพด
สัตว์  วัว เเพะ แกะ
ลักษณะ : สี ขาว เหลือง ครีม              
                          กลิ่น กล้วย สตอเบอรี่ ช้อคโกเเลต
         รสชาติ จืด หวาน เปรี้ยว
การถนอม : ไอติม                               
ประโยชน์: สร้างรายได้  บำรุงร่างกาย 
โทษ: ระวังหมดอายุ                            


ความรู้เพิ่มเติม




เอลนีโญ - ลานีญา
        เอลนีโญ (El Niño) เป็นคำในภาษาสเปนแปลว่า บุตรพระคริสต์  เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศกับกระแสน้ำในมหาสมุทร  มักเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลคริสต์มาส เมื่อกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นบริเวณชายฝั่งเปรู ส่งผลกระทบทางระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหาร  ฝูงปลามีจำนวนลดลง ทำให้นกชายฝั่งขาดอาหาร ชาวประมงขาดรายได้ รวมทั้งเกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรงในประเทศเปรูและเอกวาดอร์   อย่างไรก็ตามเอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีคาบเวลาที่แน่นอน ไม่ได้เกิดขึ้นทุกปี ขณะที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งอาจกินเวลา 2 - 3 เดือนหรือนานกว่า  เอลนีโญจึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “El Niño – Southern Oscillation” เรียกอย่างสั้นว่า "ENSO"  หมายถึงความผันผวนซึ่งเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้

สภาวะปกติ 
        โดยปกติบริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก  ลมสินค้าตะวันออก (Eastery trade winds) จะพัดจากประเทศเปรูชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ไปทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก แล้วยกตัวขึ้นบริเวณประเทศอินโดนีเซีย ทำให้มีฝนตกมากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ  กระแสลมสินค้าพัดให้กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันทางทิศตะวันตก จนมีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลปกติประมาณ 60 – 70 เซนติเมตร แล้วจมตัวลง กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรซีกเบื้องล่างไหลเข้ามาแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวซีกตะวันออก นำพาธาตุอาหารจากก้นมหาสมุทรขึ้นมาทำให้ปลาชุกชุม เป็นประโยชน์ต่อนกทะเลและการทำประมงชายฝั่งของประเทศเปรูดังภาพที่ 1


ภาพที่ 1 สภาวะปกติ


สภาวะเอลนีโญ
       เมื่อเกิดเอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวจึงเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางทิศตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ทำให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์  กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาดังภาพที่ 2  บริเวณชายฝั่งจึงขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเลทำให้ชาวประมงเปรูขาดรายได้  ขณะที่เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้แต่ก็ทำให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ  ไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซียในบางปีเป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญนั่นเอง 





ภาพที่ 2 เอลนีโญ

สภาวะลานีญา 
          ลานีญา (La Niña) แปลว่า บุตรธิดา เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติแต่รุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออก (Trade wind) ที่พัดไปทางทิศตะวันออกมีกำลังแรงทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ  ลมค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก  แต่ที่บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูน้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันออกดังภาพที่ 3  ทำให้เกิดธาตุอาหารและฝูงปลาชุกชุม 


ภาพที่ 3 ลานีญา


        เราอาจกล่าวอย่างง่ายว่า เอลนีโญทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในทางกลับกันลานีญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งเอลนีโญและลานีญาเกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัด  ภาพถ่ายจากดาวเทียมโทเพกซ์/โพซีดอน (Topex/Poseidon) ในภาพที่ 4 แสดงให้เห็นความต่างระดับของน้ำทะเลบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิก สีขาวแสดงระดับน้ำซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 14 เซนติเมตร สีม่วงหรือสีเข้มแสดงระดับน้ำซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ -18 เซนติเมตร ขณะที่เกิดลานีญา - เอลนีโญ



ภาพที่ 4 ระดับน้ำพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิก

ที่มา : http://www.lesa.biz/earth/hydrosphere/elnino

คำศัพท์
  •    La Niña  ลานีญา
  •    El Niño เอลนีโญ
  •    cock      ไก่ตัวผู้
  •    water     น้ำ


การนำมาประยุกต์ใช้
นำหลักและวิธีการที่อาจารย์ให้ความรู้ไปปรับใช้กับการฝึกสอน อีกทั้งหน่วยต่างๆยังสามรถเชื่อมโยงกับมาตรฐานทั้้ง8ได้

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
เข้าใจในการเเตกหน่วยมากขึ้น ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เรียกว่าเอลนีโญ - ลานีญา

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆแต่ละกลุ่มสามารถตอบคำถามได้ มีบ้างครั้งที่ตอบไม่ได้บ้าง มีความสามัคคี มีน้ำใจ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์อธิบายได้เข้าใจ และอาจารย์จะทบทวนให้ทุกครั้้งหลังเรียนเพื่อทดสอบว่านักศึกษาเข้าใจจริงหรือไม่