สรุปวิจัย (เพิ่มเติม)
เรื่องผลของการจัดประสบการณ์เสริมทางวิทยาศาตร์ที่มีต่อทักษะการสังเกตที่มีต่อเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย: คุณสุวิทย์ วรรณศรี
คุณสมบูรณ์ พานิชศิริ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
************************************************
ความมุ่งหมายของวิจัย
- เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน ก่อนเเละหลังการทดลอง
- เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติ ก่อนเเละหลังการทดลอง
- เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนกับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติ
ความสำคัญของการวิจัย
การศึกษาครั้้งนี้เป็นเเนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตอันเป็นพื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางของครูในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
ขอบเขตการวิจัย
- ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2550 โรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์เขต1
- กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นเด็กปฐมวัยชาย-หญิง อายุระหว่าง5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่2 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2550 โรงเรียนเมืองเพชรบูรณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์เขต1 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน30คน แล้วจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลองเเละกลุ่มควบคุม กลุ่มละ15คน
- ระยะเวลที่ทใช้ในการทดลอง การทดลองครั้งนี้กระทำระหว่างภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2550 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ20 นาที
- ตัวแปรที่ศึกษา
4.1 ตัวแปรอิสระคือการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศษสตร์ ได้แก่
4.1.1 การจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน
4.1.2 การจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติ
4.2 ตัวแปรตามคือ ทักษะการสังเกตโดยคุณลักษณะ การกะปรัมาณและการเปลี่ยนแปลง
สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
- เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน มีทักษะการสังเกตสูงขึ้น
- เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติมีทักษะการสังเกตสูงขึ้น
- เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน มีทักษะการสังเกตแตกต่างจากเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์แบบปกติ
วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
- ประเมินก่อนการทดลอง (Pretest) ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้แบบประเมินทักษะการสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เเผนการจดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์ดังนี้
- ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองทั้งกลุ่มควบคุมเเละกลุ่มทดลองโดยใช้เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้้งละ20 นาที เด็กจะได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมวงกลม คือวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ดังนี้
2.1 กลุ่มทดลองได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์นอกชั้นเรียน
2.2 กลุ่มควบคุมได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์แบบปกติ
3. เมื่อทำการทดลองภายในเวลา 8 สัปดาห์แล้วจึงทำการแระเมินหลังการทดลอง (Posttest) ทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง โดยใช้แบบประเมินทักษะการสังเกตสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นชุดเดียวกับการประเมินก่อนการทดลองเเล้วนำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
- ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์ ดังนี้
1.1 แผนการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์นอกชั้นเรียน
1.2 แผนการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์แบบปกติ
2. แบบประเมินทักษะการสังเกตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความเชื่อถือได้ 0.72
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
จากการศึกษาทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาตร์ปรากฏว่า
- เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน กับเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติ มีทักษะการสังเกตสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน มีทักษะการสังเกตแตกต่างจากเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น