วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4วันอังคารที่30   (ห้อง15-0905)

เนื้อหาการเรียนรู้/ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์พูดถึงเรื่องแนวการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าจะเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนตรงไหนหรือไม่ เช่น เป้าหมาย6ด้านนี้

  • คุณธรรมจริยธรรม
  • ความรู้
  • ทักษะทางปัญญา
  • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
  • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและกรใช้เทคโนดลยีสารสนเทศ
  • การจัดการเรียนรู้
หลังจากนั้นอาจาย์ให้คัดพยัญชนะทั้ง44ตัว



เมื่อทุกคนคัดพยัญชนะเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม5คนแล้วแจกอุปกรณ์ให้ทุกกลุ่ม
  • กระดาษสีฟ้า 1 แผ่น
  • กระดาษสีขาว 1 แผ่น 
  • คลิปหนีบกระดาษ 1 ตัว

ให้นำกระดาษสีฟ้าและคลิปหนีบกระดาษที่อาจารย์เเจกให้มาสร้างสื่อการเรียนรู้ว่าจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องอากาศอย่างไร  กลุ่มของดิฉัน นำกระดาษสีฟ้าและคลิปหนีบกระดาษมาทำการเกิดฝน

กระบวนการคิดและดำเนินงาน (ฤดูฝน)




  1. ระดมความคิดว่าจะออกแบบอย่างไรจากคลิปหนีบกระดาษและกระดาษสีฟ้า
ยุคลธร  
มีความเห็นวว่า ให้คลี่คลิปออกเป็นเส้นตรงและฉีกกระดาษเป็นเส้นๆแล้วนำมาเจาะใส่คลิปคล้ายกับฝนตก
ชื่นนภา  
มีความเห็นว่าควรมีก้อนเมฆเพิ่มขึ้นมาด้วยเพื่อให้เด็กเห็นภาพมากขึ้น
พรประเสริฐ  
มีความเห็นว่า ให้มีไอน้ำระเหยขึ้นมารวมตัวกันเป็นก้อนเมฆ
สริกัลยา  
มีความเห็นว่าควรมีการอธิบายว่าฟ้าหลังฝนเป็นเช่นไร โดยการทำเป็นดวงอาทิตย์ส่องแสง
เกตุววรินทร์ 
มีความเห็นว่า ควรมีลมด้วยขณะฝนตก

และนำทุกความเห็นรวมกัน เป็นการเล่าเรื่องฤดูฝน

      2. ลงมือฉีกกระดาษและทำตามขั้นตอนที่วางไว้

-เริ่มจากการฉีกกระดาษให้เป็นสายฝน แล้ววาดรูปก้อนเมฆตกแต่งให้สวยงาม

-ใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบไว้ตอนเปลี่ยนเป็นดวงอาทิตย์






      3. ฝึกซ้อมเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน



เมื่อสร้างสื่อเสร็จทุกกลุ่มแล้วอาจารย์ก็ให้เเต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองานของกลั่มตัวเองโดยเริ่มจากกลุ่มของดิฉัน

เรื่องที่1 เรื่องฝน
ยังนำเสนอได้ไม่ตรงประเด็นสำคัญมากนักแต่ก้ไม่ถือว่าผิดเพียงแต่ตัวหลักที่อาจารย์กำหนดว่าอากาศ  ควรจะสอนเด็กอย่างไร ยังนำเสนอออกมาได้ไม่ชัดเจน




เรื่องที่2 เรื่องลม
เพื่อนๆนำเสนอเกี่ยวกับลม โดยใช้พัดเป็นสื่อ




เป็นการสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องของอากาศเมื่อากาศร้อนสามารถใช้พัด พัดเพื่อคลายร้อนได้

เรื่องที่3 เรื่องกังหันลม






เกี่ยวกับทิศทางของลม การปั่นไฟ ในเรื่องของเพื่อนก็ยังสื่อความหมายไม่ตรงประเด็น

เรื่องที่4 เรื่องเเรงต้านอากาศ




(ภาพเเสดงแทนการตกของกระดาษและคลิป)

เพื่อนใช้สื่อดโดยการปล่อยกระดาษและคลิปลงบนพื้น เเล้วตั้งคำถาม/ปัญหาประเด็นว่าทำไมกระดาษจึงตกลงพื้นช้ากว่าคลิปหนีบกระดาษ

 เรื่องที่5 เรื่องฤดูกาล



เพื่อนนำเสนอเกี่ยวกับการสอนฤดูกาลต่างๆให้เด็กดูโดยการหมุนวงจรที่สร้างขึ้นมาแล้วให้เด็กทายว่าคือฤดูอะไร

เรื่องที่6 เรื่อง ลมทะเลกับลมบก
สื่อที่เพื่อนใช้สอน คือเรือ


เพื่อนนำเสนอถึงความแตกต่างของลมทะเลและลมบก

ของเล่นวิทยาศาสตร์   (รถกระป๋อง)


อุปกรณ์


                                                       1.กรรไกร                                                              

                                                                       2.กระป๋อง

3.กระดาษลัง

4.ตะเกียบ

5.เเทปกาว

6.ฝาขวดน้ำ

7.กาวร้อน


8.กระดาษตกแต่ง

9.ปากกาเคมี

10.หลอด

11.กาว

วิธีทำ
1.ตัดกระดาษลังเป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าแล้วนำตะเกียบมาติดกับกระดาษลังดังรูป


2.หลังจากนั้นให้นำตะเกียบมาติดกับฝาขวดน้ำแล้วนำมาติดกับกระดาษลัง


3.หลังจากนั้นให้เจาะกระป๋องทั้งสองด้าน นำยางมาร้อยลงไปในรูที่เจาะ



4.แล้วนำยางที่ร้อยไว้กับกระป๋งไปมัดติดกับฐานของรถที่ทำไว้


5.แล้วตกแต่งให้สวยงาม


คำศัพท์เฉพาะ
  • Build a Toy Car that Moves  รถของเล่นทำจากกระป๋องและกระดาษลัง
  • knowledge   ความรู้


การนำมาประยุกต์ใช้
  นำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการสอนในชีวิตประจำวันเช่น การหาทิศทางของลม การเกิดฝนสอนเด็กให้เข้าใจการเกิดฝนมากขึ้น  การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร๋ช่วยสอนเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์

การประเมิน
ประเมินตนเอง
สามารถเรียนรู้เรื่องของการเกิดฝนมากขึ้น มีความสามัคคีระหว่างกลุ่มเพื่อน มีความรับผิดชอบต่อตนเองเเละผู้อื่น

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกกลุ่มตั้งใจทำกิจกรรมและงานมีความสามัคคีกันในกลุ่ม  มีการพูดคุยกันระหว่างกลุ่ม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สอนเข้าใจ เปิดโอกาสให้นักศึกษาถามในหัวข้อที่ยังไม่เข้าใจ





































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น