วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4วันอังคารที่30   (ห้อง15-0905)

เนื้อหาการเรียนรู้/ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์พูดถึงเรื่องแนวการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่าจะเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนตรงไหนหรือไม่ เช่น เป้าหมาย6ด้านนี้

  • คุณธรรมจริยธรรม
  • ความรู้
  • ทักษะทางปัญญา
  • ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
  • ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและกรใช้เทคโนดลยีสารสนเทศ
  • การจัดการเรียนรู้
หลังจากนั้นอาจาย์ให้คัดพยัญชนะทั้ง44ตัว



เมื่อทุกคนคัดพยัญชนะเสร็จแล้วอาจารย์ก็ให้จับกลุ่ม5คนแล้วแจกอุปกรณ์ให้ทุกกลุ่ม
  • กระดาษสีฟ้า 1 แผ่น
  • กระดาษสีขาว 1 แผ่น 
  • คลิปหนีบกระดาษ 1 ตัว

ให้นำกระดาษสีฟ้าและคลิปหนีบกระดาษที่อาจารย์เเจกให้มาสร้างสื่อการเรียนรู้ว่าจะให้เด็กเรียนรู้เรื่องอากาศอย่างไร  กลุ่มของดิฉัน นำกระดาษสีฟ้าและคลิปหนีบกระดาษมาทำการเกิดฝน

กระบวนการคิดและดำเนินงาน (ฤดูฝน)




  1. ระดมความคิดว่าจะออกแบบอย่างไรจากคลิปหนีบกระดาษและกระดาษสีฟ้า
ยุคลธร  
มีความเห็นวว่า ให้คลี่คลิปออกเป็นเส้นตรงและฉีกกระดาษเป็นเส้นๆแล้วนำมาเจาะใส่คลิปคล้ายกับฝนตก
ชื่นนภา  
มีความเห็นว่าควรมีก้อนเมฆเพิ่มขึ้นมาด้วยเพื่อให้เด็กเห็นภาพมากขึ้น
พรประเสริฐ  
มีความเห็นว่า ให้มีไอน้ำระเหยขึ้นมารวมตัวกันเป็นก้อนเมฆ
สริกัลยา  
มีความเห็นว่าควรมีการอธิบายว่าฟ้าหลังฝนเป็นเช่นไร โดยการทำเป็นดวงอาทิตย์ส่องแสง
เกตุววรินทร์ 
มีความเห็นว่า ควรมีลมด้วยขณะฝนตก

และนำทุกความเห็นรวมกัน เป็นการเล่าเรื่องฤดูฝน

      2. ลงมือฉีกกระดาษและทำตามขั้นตอนที่วางไว้

-เริ่มจากการฉีกกระดาษให้เป็นสายฝน แล้ววาดรูปก้อนเมฆตกแต่งให้สวยงาม

-ใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบไว้ตอนเปลี่ยนเป็นดวงอาทิตย์






      3. ฝึกซ้อมเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน



เมื่อสร้างสื่อเสร็จทุกกลุ่มแล้วอาจารย์ก็ให้เเต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองานของกลั่มตัวเองโดยเริ่มจากกลุ่มของดิฉัน

เรื่องที่1 เรื่องฝน
ยังนำเสนอได้ไม่ตรงประเด็นสำคัญมากนักแต่ก้ไม่ถือว่าผิดเพียงแต่ตัวหลักที่อาจารย์กำหนดว่าอากาศ  ควรจะสอนเด็กอย่างไร ยังนำเสนอออกมาได้ไม่ชัดเจน




เรื่องที่2 เรื่องลม
เพื่อนๆนำเสนอเกี่ยวกับลม โดยใช้พัดเป็นสื่อ




เป็นการสอนเด็กเกี่ยวกับเรื่องของอากาศเมื่อากาศร้อนสามารถใช้พัด พัดเพื่อคลายร้อนได้

เรื่องที่3 เรื่องกังหันลม






เกี่ยวกับทิศทางของลม การปั่นไฟ ในเรื่องของเพื่อนก็ยังสื่อความหมายไม่ตรงประเด็น

เรื่องที่4 เรื่องเเรงต้านอากาศ




(ภาพเเสดงแทนการตกของกระดาษและคลิป)

เพื่อนใช้สื่อดโดยการปล่อยกระดาษและคลิปลงบนพื้น เเล้วตั้งคำถาม/ปัญหาประเด็นว่าทำไมกระดาษจึงตกลงพื้นช้ากว่าคลิปหนีบกระดาษ

 เรื่องที่5 เรื่องฤดูกาล



เพื่อนนำเสนอเกี่ยวกับการสอนฤดูกาลต่างๆให้เด็กดูโดยการหมุนวงจรที่สร้างขึ้นมาแล้วให้เด็กทายว่าคือฤดูอะไร

เรื่องที่6 เรื่อง ลมทะเลกับลมบก
สื่อที่เพื่อนใช้สอน คือเรือ


เพื่อนนำเสนอถึงความแตกต่างของลมทะเลและลมบก

ของเล่นวิทยาศาสตร์   (รถกระป๋อง)


อุปกรณ์


                                                       1.กรรไกร                                                              

                                                                       2.กระป๋อง

3.กระดาษลัง

4.ตะเกียบ

5.เเทปกาว

6.ฝาขวดน้ำ

7.กาวร้อน


8.กระดาษตกแต่ง

9.ปากกาเคมี

10.หลอด

11.กาว

วิธีทำ
1.ตัดกระดาษลังเป็นรูปสี่เหลี่ยมพื้นผ้าแล้วนำตะเกียบมาติดกับกระดาษลังดังรูป


2.หลังจากนั้นให้นำตะเกียบมาติดกับฝาขวดน้ำแล้วนำมาติดกับกระดาษลัง


3.หลังจากนั้นให้เจาะกระป๋องทั้งสองด้าน นำยางมาร้อยลงไปในรูที่เจาะ



4.แล้วนำยางที่ร้อยไว้กับกระป๋งไปมัดติดกับฐานของรถที่ทำไว้


5.แล้วตกแต่งให้สวยงาม


คำศัพท์เฉพาะ
  • Build a Toy Car that Moves  รถของเล่นทำจากกระป๋องและกระดาษลัง
  • knowledge   ความรู้


การนำมาประยุกต์ใช้
  นำความรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในการสอนในชีวิตประจำวันเช่น การหาทิศทางของลม การเกิดฝนสอนเด็กให้เข้าใจการเกิดฝนมากขึ้น  การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร๋ช่วยสอนเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์

การประเมิน
ประเมินตนเอง
สามารถเรียนรู้เรื่องของการเกิดฝนมากขึ้น มีความสามัคคีระหว่างกลุ่มเพื่อน มีความรับผิดชอบต่อตนเองเเละผู้อื่น

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกกลุ่มตั้งใจทำกิจกรรมและงานมีความสามัคคีกันในกลุ่ม  มีการพูดคุยกันระหว่างกลุ่ม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย สอนเข้าใจ เปิดโอกาสให้นักศึกษาถามในหัวข้อที่ยังไม่เข้าใจ





































วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3วันอังคารที่23   (ห้อง15-0905)

เนื้อหาการเรียนรู้/ความรู้ที่ได้รับ
  วันนี้อาจารย์มอบหมายงานให้นั่งทำภายในห้อง สรุป เรื่องรูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย

  • คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ3-5ปีที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546

คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3 – 5 ปี  ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546  มีดังนี้

เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        วิ่งและหยุดโดยไม่ล้ม
·        รับลูกบอลด้วยมือและลำตัว
·        เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
·        เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
·        ใช้กรรไกรมือเดียวได้
·        วาดและระบายสีอิสระได้







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงอารมณ์ตามความรู้สึก
·        ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจและได้คำชม
·        กลัวการพลัดจากผู้เลี้ยงดูใกล้ชิดน้อยลง


พัฒนาการด้านสังคม
·        รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง
·        ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)
·        เล่นสมมติได้
·        รู้จักรอคอย
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        กระโดดขาเดียวอยู่กับที่ได้
·        รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง
·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
·        เขียนรูปสีเหลี่ยมตามแบบได้
·        ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
·        กระฉับการเฉยไม่ชอบอยู่เฉย







พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับบางสถานการณ์
·        เริ่มรู้จักชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·        ชอบท้าทายผู้ใหญ่
·        ต้องการให้มีคนฟังคนสนใจ

พัฒนาการด้านสังคม
·        แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง
·        เล่นร่วมกับผู้อื่นได้ รอคอยตามลำดับก่อน หลัง
·        แบ่งของให้คนอื่น
·        เก็บขอบเล่นเข้าที่ได้
พัฒนาการด้านร่างกาย
·        กระโดดขาเดียวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องได้
·        รับลูกบอลที่กระดอนขึ้นจากพื้นได้ด้วยมือทั้งสอง
·        เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้อย่างคล่องแคล่ว
·        เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
·        ตัดกระกาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนด
·        ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่น ติดกระดุม  ผูกเชือกรองเท้า ฯลฯ
·        ยืดตัว  คล่องแคล่ว

พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ
·        แสดงอารมณ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
·        ชื่นชมความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น
·        ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้องลง


พัฒนาการด้านสังคม
·        ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง
·        เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้
·        พบผู้ใหญ่  รู้จักไหว้  ทำความเคารพ
·        รู้จักขอบคุณ  เมื่อรับของจากผู้ใหญ่
·        รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
เด็กอายุ  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
·        บอกชื่อของตนเองได้
·        ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
·        สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
·        ร้องเพลง ท่องคำกลอน  คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
·        รู้จักใช้คำถาม อะไร
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
·        อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
·        บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
·        พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง  จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
·        บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
·        พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
·        สนทนาโต้ตอบ / เล่าเป็นเรื่องราวได้
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม”      “อย่างไร
·        เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
·        นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า  10  ได้


  •  ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย (อายุ3-5ปี)
      ธรรมชาติของเด็กวัย 3 ปี – 5 ปี 3 ปี 4 ปี 5 ปี เป็นวัยที่เด็กจะช่างสงสัย ช่างถาม ช่างเลียนแบบ และ เป็นวัยช่างส ารวจโลกใบน้อยของเขา จะสนใจเกี่ยวกับ การฝึกทักษะต่าง ๆ อย่างมาก เช่น เล่นไม้ลื่นหรือ ขี่จักรยานสามล้อ แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องของ “เมื่อวานนี้” “พรุ่งนี้” ชอบท าอะไรซ้ า ๆ เด็กวัยนี้ส่วนใหญ่จะใช้พลังไปกับการเล่น มีความ เชื่อมั่นในตัวเองมากและอยากลองของใหม่ อยากรู้ อยากเห็น ชอบกระโดด โลดเต้น ชอบตะโกน หัวเราะ ไม่ค่อยมีความอดทน มีจินตนาการสูงจนบางครั้ง ท าให้พูดจาโอ้อวดเกินจริง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติส าหรับ เด็กวัยนี้ วัยนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสุดท้ายของการเป็นเด็ก วัยต้นที่ย่างเข้าสู่วัยเจริญเติบโตขั้นต่อไป บางคนเข้า อนุบาลแล้ว เด็กจะร่าเริง แจ่มใส ใช้พลังหมดไปกับ การเล่น เด็กปฐมวัยเป็นช่วงที่จะพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้คุณธรรมได้มากที่สุด การพัฒนาระยะเริ่มแรกของชีวิตมีผลต่อพัฒนาในระยะอื่น ๆ ที่ตามมาการปลูกฝังคุณธรรม ลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพที่ดีในช่วงปฐมวัยจึงเป็นเรื่องที่ส าคัญมาก เด็กวัย 3 – 5 ปี สติปัญญาก าลังพัฒนาในขั้นเตรียมการ (Preoperational Stage) อยากรู้อยากเห็น อยากเล่นและอยากกินตลอดเวลา ถือว่าตนเองเป็นใหญ่ เป็น ศูนย์กลางของสังคม จึงเอาแต่ใจตนเอง ขาดความมีเหตุผล ขาดความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี เด็กบางคนจึงอาจท าร้ายหรือแกล้ง เพื่อน ๆ ให้ได้รับอันตรายได้ ถ้าครูหรือพี่เลี้ยง ขาดความระมัดระวังเท่าที่ควร ช่วง 2 – 4 ขวบ เด็ก ๆ จะตื่นเต้นกับสิ่งแปลกใหม่ตามธรรมชาติ ได้เรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยประสบการณ์ตรงและกระท าซ้ า ๆ ในสิ่งที่ชอบ มีการเล่นที่ใช้จินตนาการ ของตนช่วงความสนใจจะสั้น ชอบถามว่า “อะไร” “ท าไม” บ่อย ๆ ในช่วง 4 – 6 ขวบ เด็ก ๆ เริ่มสนุกสนานกับการเล่นและการท างาน เริ่มเรียนรู้บทบาทของผู้ใหญ่โดย การจินตนาการและเล่นบทบาทสมมุติ มีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่าง ๆ และเริ่มเข้าใจผู้อื่นบ้างแล้ว

  • ทฤษฎีการเรียนรู้
-การวางเงื่อนไขกลับ (การทดลองของเมรีโจน)
-ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์
-การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูเนอร์
-การเรียนรู้ตามทฤาฎีของไทเลอร์
  • หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
สรุป หลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่สมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวเเละชุมชน


ไปศึกษาดูงานที่เมืองทอง งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนดลยีแห่งชาติ2559 เมืองทองธานี



บรรยากาศภายในงาน




























คำศัพท์

  • Eggibition  ไข่มหัศจรรย์
  • Stage            เวที

การนำมาประยุกต์ใช้
จากการเรียนวันนี้การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องให้เด็กนั่งเรียนภายในห้องเพียงอย่างเดียวแต่สามารถพาเด็กไปเรียนรู้นอกสถานที่ได้ เด็กอาจจะได้ความรู้มากกว่าอยู่ในห้องเรียนเเล้วนำความรู้ที่ได้จากการไปศึกษานอกสถานที่มาแบ่งปันกันภายในห้องเรียน

การประเมิน
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตามปกติสรุปงานที่อาจารย์มอบหมายจนเสร็จเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจสรุปงานทีี่อาจารย์มอบหมายเอาไว้ให้

ประเมินอาจารย์
ถึงแม้อาจารย์ติดธุระ  แต่ก็ยังฝากงานเอาไว้ให้ทำ เพราะกลัวว่านักศึกษาจะเรียนไม่ทัน